วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การโอนเงินระหว่างประเทศแบบมาตรฐาน

การโอนเงินระหว่างประเทศแบบมาตรฐาน


การโอนเงินระหว่างประเทศแบบมาตรฐานมีค่าธรรมเนียม 12 ปอนด์หรือเทียบเท่าเงินสกุลอื่นต่อ 1 ธุรกรรม และใช้เวลาประมาณ 4 วันทำการ กรุณาส่งอีเมล์แจ้งความประสงค์ของท่านมาที่cashier@ladbrokes.com โดยระบุชื่อ-นามสกุล จริงของท่าน, ชื่อที่ใช้, คำถามและคำตอบส่วนตัว รวมทั้งข้อมูลต่อไปนี้:
ชื่อและที่อยู่ของธนาคาร
ชื่อบัญชี
ซอร์ทโค้ด / สวิฟต์ BIC หรือรหัสการหักบัญชีของประเทศ
หมายเลขบัญชี
จำนวนเงิน



การโอนเงินระหว่างประเทศแบบเร่งด่วน



การโอนเงินระหว่างประเทศแบบเร่งด่วนมีค่าธรรมเนียม 15 ปอนด์หรือเทียบเท่าเงินสกุลอื่น ปกติแล้วเงินจะเข้าบัญชีของท่านภายใน 2 วันทำการ กรุณาส่งอีเมล์แจ้งความประสงค์ของท่านมาที่ cashier@ladbrokes.com โดยระบุชื่อ-นามสกุล จริงของท่าน, ชื่อที่ใช้, คำถามและคำตอบส่วนตัว รวมทั้งข้อมูลต่อไปนี้ :
ชื่อและที่อยู่ของธนาคาร
ชื่อบัญชี
SWIFT BIC หรือรหัสการหักบัญชีของประเทศ
หมายเลขบัญชี
จำนวนเงิน

การโอนเงินทางอิเล็คทรอนิกส์ไปยังธนาคารที่ดำเนินการอาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม จำนวนเงินที่ต้องการถอนขั้นต่ำคือ 10 ปอนด์หรือจำนวนเทียบเท่าเงินสกุลอื่น






การโอนเงินผ่าน NETELLER

           การโอนเงินผ่าน NETELLER


หากท่านมีบัญชี NETeller ท่านสามารถฝากเงินเพิ่มเติมเข้าที่บัญชีเดิมพันแล็ดโบร๊กส์ของท่านได้ทันที และท่านสามารถทำการถอนเงินกลับไปที่บัญชี NETeller ของท่านได้ทันที ซึ่งทำให้ท่านสามารถใช้ เงินที่ท่านเล่นชนะเดิมพันได้ทันที NETeller มีให้สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีเดิมพันแล็ดโบร๊กส์เป็นสกุลเงิน ดอลลาร์สหรัฐฯ , ปอนด์สเตอร์ลิง, ดอลลาร์แคนาดาและยูโรเท่านั้น

ทำอย่างไร:

หากท่านไม่มีบัญชีของ NETeller:


1. เข้าไปที่ www.neteller.com
2. คลิกที่ "Sign up now for your FREE NETeller Account!"
3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของหน้าจอเพื่อลงทะเบียน
4. เมื่อท่านเปิดบัญชี NETeller เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเข้าระบบของ NETeller และเลือกหนึ่งทางเลือกของการฝากเงินเข้าไปในบัญชี NETeller ของท่าน เช่นฝากเงินผ่านธนาคาร, ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer)หรือบัตรเครดิต




เมื่อท่านได้การฝากเงินเข้าไปในบัญชี NETeller เรียบร้อยแล้วให้ท่านปฏิบัติ ดังนี้:


1. คลิกที่ปุ่ม "ธนาคาร" หรือ"Banking" ในส่วนล็อตโต้
2. เลือกวิธีฝากเงินแบบ NETeller
3. ระบุจำนวนเงินที่ท่านต้องการโอนจากบัญชี NETeller ไปที่บัญชีเดิมพันแล็ดโบร๊กส์ของท่าน
4. ระบุหมายเลขบัญชีและรหัสเพื่อความปลอดภัยของบัญชี NETeller ของท่าน
5. ระบุรหัสผ่านของบัญชีเดิมพันแล็ดโบร๊กส์ของท่าน
6. คลิกปุ่ม "ทำการฝากเงิน" ("Make Deposit") หากท่านได้ทำการลงทะเบียนวิธีการฝากเงินอื่นๆ ไว้ ท่านจำเป็นต้องติดต่อส่วนบริการลูกค้าที่หมายเลขโทรศัพท์ 0800 032 1133 หรือหากท่านโทรจาก ต่างประเทศ กรุณาโทรมาที่ส่วนบริการลูกค้าไทย 001 800 441 1687 หรืออีเมล์มายังcashier@ladbrokes.com เพื่อแจ้งให้ทางเราเปลี่ยนวิธีการฝากเงินเป็นแบบ Neteller










ความตกลงเชงเกน

                        ความตกลงเชงเกน

ความตกลงเชงเกน (อังกฤษ: Schengen Agreement) เป็นความตกลงระหว่างประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรปอันให้สัตยาบันเมื่อ พ.ศ. 2528 สาระสำคัญเป็นการอนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง ข้อตกลงนี้มีผลต่อประชากร 4,000,000 คนใน 24 ประเทศ (21 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครอบคลุมเนื้อที่ 4,268,633 ตารางกิโลเมตร (1,648,128 ตารางไมล์) นอกจากนั้นยังให้การอนุญาตชั่วคราวกับผู้ถือใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) มีสิทธิในการเดินทางได้ชั่วคราวในประเทศสมาชึกโดยถือใบอนุญาตใบเดียว ตามสนธิสัญญาอัมส์เตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) ข้อตกลงและตัดสินใจทุกข้อของความตกลงเชงเกนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายของสหภาพยุโรป

ประเทศที่ลงนามในความตกลงฉบับนี้มีด้วยกัน 30 ประเทศรวมทั้งประเทศในสหภาพยุโรปทุกประเทศ และประเทศนอกสหภาพอีก 3 ประเทศคือ ประเทศไอซ์แลนด์ ประเทศนอร์เวย์ และประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมี 26 ประเทศที่ใช้ความตกลงนี้ สหราชอาณาจักรยังมิได้ใช่กฏนี้ หลังจากที่มีการปฏิบัติข้อตกลงนี้ด่านหรือป้อมตรวจคนเข้าเมืองของประเทศที่อยู่ในเครือเชงเกนก็ถูกรื้อทิ้ง





ประเทศสมาชิกเชงเกน




ประเทศที่อนุญาตให้ประชาชนในกลุ่มเชงเกนสามารถเดินทางระหว่างกันโดยไม่ต้องถือหนังสือเดินทาง และประชาชนจากประเทศนอกกลุ่มเชงเกนเดินทางระหว่างประเทศเชงเกนได้โดยใช้ใบอนุญาตเพียงใบเดียว - ใบอนุญาตเชงเกน (Schengen Visa) ประเทศสมาชิกทั้งหมดหลังจากการเข้าร่วมเพิ่มในเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2551 ประกอบด้วย





แผนที่แสดงการเข้าร่วมข้อตกลงเชงเกน สีฟ้าคือประเทศที่ประกาศใช้แล้ว สีเขียวคือประเทศที่เตรียมเข้าร่วม



















































































ประเทศไซปรัส เลื่อนการอนุญาตไปหนึ่งปี ประเทศบัลแกเรีย และ ประเทศโรมาเนีย ยังอยู่ในการพิจารณา



อ้างอิง


ป้ายข้ามเขตแดนระหว่างประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรีย ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มเชงเกนซึ่งไม่มีป้อมตรวจคนเข้าเมือง

  1. ^ "Schengen area" is the common name for states that have implemented the agreement.







ความสัมพันธ์สวิตเซอร์แลนด์-สหภาพยุโรป

ความสัมพันธ์สวิตเซอร์แลนด์-สหภาพยุโรป


สมาพันธรัฐสวิสหรือสวิตเซอร์แลนด์ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยประเทศสมาชิกสหภาพ ยุโรป ซึ่งสวิตเซอร์แลนด์ไม่ได้เป็นสมาชิก แต่มีความสัมพันธ์ / ประวัติศาสตร์ / วัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน / ยาวนาน และแน่นแฟ้นอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ที่เกื้อหนุนกันในทุกด้าน ดังนั้น ความสัมพันธ์สวิตเซอร์แลนด์-สหภาพยุโรปเป็นอย่างไร บทบาทและท่าทีของสวิตเซอร์แลนด์ต่อสหภาพยุโรปเป็นอย่างไร และในทางกลับกันสหภาพยุโรปมีนโนบายและยุทธศาสตร์อย่างไรต่อสวิตเซอร์แลนด์ นาย Ulrich Trautmann เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับความสัมพันธ์สหภาพยุโรปกับสวิตเซอร์แลนด์ ของคณะกรรมธิการยุโรปด้านต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์แก่คณะผู้แทนไทยประจำประชาคมยุโรปและเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ดังนี้

ภาพรวม/ภูมิหลัง

สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดมากที่สุดของสหภาพยุโรป ความสัมพันธ์ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปนั้นยาวนานและแนบแน่น นับย้อนไปได้ตั้งแต่ความตกลงดั้งเดิมระหว่าง European Coal and Steel Community กับ Swiss Confederation ในปี 1957 สวิตเซอร์แลนด์เป็นคู่ค้าสำคัญอันดับต้น ๆ ของสหภาพยุโรป ประชากรของสหภาพยุโรป กว่า 800,000 คนพำนักอาศัยและทำงานในสวิตเซอร์แลนด์ การเดินทางผ่านข้ามพรมแดนระหว่างสองฝ่ายนั้นเกิดขึ้นเป็นประจำและต่อเนื่อง โครงสร้างทางการเมืองในระบบสมาพันธรัฐของสวิสเป็นรูปแบบสำหรับโครงสร้างของ European Union (EU) นอกจากนั้น ในด้านเศรษฐกิจ สวิตเซอร์แลนด์ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์อยู่ในใจกลางของ EU Production Belt จาก Amsterdam / Rotterdam / Stuttgart / Frankfurt / Basel / Milan / Rome / London อีกด้วย
ในปี 1972 European Free Trade Association (EFTA) ระหว่าง ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ ได้ถูกตั้งขึ้น และถือเป็นเวทีการค้าระหว่างประชาคมยุโรป (สหภาพยุโรป) กับสวิตฯ
ในปี 1992 สวิตเซอร์แลนด์ขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกประชาคมยุโรป หรือ European Community (ซึ่งหลังจากปี 1992 ตาม Treaty of the European Union ประชาคมยุโรปเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพ ยุโรป หรือ European Union) อย่างไรก็ดี ในปีเดียวกันนั้น ประชาชนสวิสลงประชามติปฏิเสธการลงนามความตกลง EEA (European Economic Area) ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรป (ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ใน EFTA ได้ลงนามความตกลงดังกล่าวกับสหภาพยุโรป) ส่งผลให้ตั้งแต่นั้นมาสวิตเซอร์แลนด์มุ่งดำเนินความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรปบนพื้นฐานของการดำเนินความตกลงทวิภาคีแบบเป็นรายสาขา รัฐบาลสวิสจึงตัดสินใจระงับการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป นับตั้งแต่นั้นมา และส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสวิตฯ สหภาพยุโรป และประเทศ EEA อื่น ๆ ได้แก่ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ และนอร์เวย์ มีลักษณะแบบสามฝ่าย Triangular และมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น

ความตกลงสหภาพยุโรป-สวิตเซอร์แลนด์

สวิตเซอร์แลนด์นับเป็นประเทศที่มีความตกลงกับสหภาพยุโรปมากที่สุดในบรรดาความตกลงที่สหภาพยุโรปมีกับประเทศที่สาม ความตกลงฉบับแรกระหว่าง European Coal and Steel Community กับ Swiss Confederation เริ่มมีตั้งแต่ปี 1957 (ดูรายชื่อความตกลงทั้งหมดได้ที่ http://europa.eu.int/comm/external_relations/switzerland/doc/bilat.htm) เพื่อลดความซับซ้อนและผลกระทบจากการที่สวิตเซอร์แลนด์มิได้ลงนามความตกลง EEA ดังกล่าวข้างต้น ในปี 1994 สวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปได้เริ่มการเจรจาความตกลงทวิภาคีเป็นรายสาขาใน 7 สาขาหลักได้แก่ Free Movement of Persons, Trade in Agricultural Products, Public Procurement, Conformity Assessments, Air Transport, Transport by Road and Rail, Swiss Participation in the 5th Framework Programme for Research โดยการเจรจาสำเร็จลุล่วงและได้มีการลงนามความตกลงดังกล่าวในปี 1999 ได้รับการลงประชามติเห็นชอบจากประชาชนสวิส ในปี 2000 และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้ให้สัตยบันความตกลงดังกล่าวและเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในปี 2002 ความตกลงในปี 1999 ดังกล่าวนับเป็นพื้นฐานของการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพ ยุโรปและสวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่นั้นมา
ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน มีการแก้ไขความตกลง EFTA เรียกว่า Vaduz Agreement ในปี 2001 เพื่อให้พัฒนาไปควบคู่กับการความตกลงทวิภาคีปี 1999 ระหว่างสหภาพยุโรป-สวิตเซอร์แลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการค้า ความตกลงดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ EFTA แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับความตกลงที่สวิตเซอร์แลนด์เริ่มใช้กับสหภาพ ยุโรป
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2004 สหภาพยุโรปและสวิตเซอร์แลนด์ได้จัดทำความตกลงทวิภาคีฉบับที่ 2 เพื่อส่งเสริมตกลงความร่วมมือใน 9 สาขาหลัก ได้แก่
- ภาษีเงินฝาก /taxation of savings
- ความร่วมมือด้านการต่อต้านการฟอกเงิน / The Co-operation in the Fight Against Fraud
- การเข้าร่วมของสวิตเซอร์แลนด์ในกฎระเบียบ Schengen / The Association of Switzerland to the Schengen Acquis ซึ่งเกี่ยวกับการตรวจลงตรา หรือวีซ่า
- การเข้าร่วมของสวิตเซอร์แลนด์ในกฎระเบียบ “Dublin” and “Eurodac” / Participation of Switzerland in the “Dublin” and “Eurodac” Regulations ซึ่งเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย (asylum)
- การค้าด้านเกษตร โดยเฉพาะความร่วมมือในการเปิดเสรีทางการค้าสินค้าเกษตรแปรรูป / Trade in Processed Agricultural Products
- ด้านสิ่งแวดล้อมและการเข้าร่วมของสวิตเซอร์แลนด์ใน European Environment Agency และ European Environment Information & Observation Network (EIONET) - ความร่วมมือด้านสถิติ / Statistical Co-operation
- ด้านสารสนเทศ / Swiss Participation in the Media Plus and Media Training Programs
- ความร่วมมือเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้อนสำหรับบุคคลผู้รับบำนาญ / the avoidance of double taxation for pensioners of the Community institutions

ความตกลงข้างต้นที่ได้รับการให้สัตยาบันและเริ่มใช้แล้ว ได้แก่ ด้านการเกษตร (1 ก.พ. 2005) ด้านภาษี (1 ก.ค. 2005) และด้านความร่วมมือเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้อนสำหรับบุคคลผู้รับบำนาญ (1 ม.ค. 2006) สำหรับกระบวนการการให้สัตยาบันความตกลงในสาขาที่เหลือยังติดขัดบางประการ โดยเฉพาะในประเด็นการให้เงินสนับสนุนของสวิตเซอร์แลนด์ในเพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปใหม่ (Contribution of Switzerland to reduction of the economic and social disparities in the enlarged EU) เป็นจำนวน 1 พันล้านยูโรเป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจาก สหภาพยุโรปเห็นว่าสวิตฯ จะได้รับประโยชน์จากการขยายสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยเช่นกัน

เศรษฐกิจและการค้า

ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปนั้นเหนียวแน่นอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันด้วย ในปี 2002 สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์ การค้ากับสหภาพยุโรปคิดเป็น 61% ของการนำเข้าและ 71% ของการส่งออกของสวิตเซอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์นับเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 3 ของสหภาพยุโรป ในปี 2003 คิดเป็นจำนวน 58.7 พันล้านยูโร สำหรับการนำเข้า และ 71 พันล้านยูโรสำหรับการส่งออก มีความสำคัญใกล้เคียงกับคู่ค้าอันดับต้นๆ ของสหภาพยุโรป อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย
สวิตเซอร์แลนด์ Distribution Centre ในกลางสหภาพยุโรป
ในฐานะที่อยู่ใจกลางสหภาพยุโรป สวิตฯ มีความสำคัญในฐานะ Distribution/Redistribution Centre สำหรับการค้าสินค้าภายระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป นาย Trautmann อธิบายเพิ่มเติมว่า การค้าระหว่างสวิตเซอร์แลนด์กับสหภาพยุโรปมีความคล่องตัวเป็นอย่างยิ่ง สินค้าที่ผลิตในยุโรปสามารถส่งจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปผ่านสวิตเซอร์แลนด์ไปยังประเทศสมาชิกอีกประเทศหนึ่งได้โดยไม่เสียภาษี (Corporate Tax) ซึ่งเป็นการอำนายความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน อย่างมาก
ในขณะเดียวกัน ประเทศที่สาม รวมทั้งประเทศไทยยังอาจได้ประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวเมื่อความตกลงเกี่ยวกับ Conformity Assessment (1999) ปี 1999 ได้รับการปรับปรุงโดยตัด Article 4 เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin) ออกไป ซึ่งจะส่งผลให้สินค้าจากประเทศไทย(รวมทั้งประเทศที่สามอื่น ๆ) สามารถผ่านจากสหภาพยุโรปเข้าสวิตเซอร์แลนด์ได้โดยไม่เสียภาษี การเสนอเพื่อตัด Article 4 ดังกล่าวออกเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงความตกลงใหม่ในปี 2004 อย่างไรก็ดี ประเด็นดังกล่าวยังไม่ได้รับการให้สัตยาบันจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ซึ่งคาดว่าจะไม่ได้เกิดขึ้นรวดเร็วนัก โดยนาย Trautmann ได้แนะนำว่า ประเทศไทยน่าจะพิจารณาใช้ประโยชน์จากความตกลงไทย-สวิตเซอร์แลนด์ได้มากกว่า เนื่องจากเป็นความตกลงที่เอื้อประโยชน์หลายประการแก่ประเทศไทย

ประเด็นที่น่าสนใจและผลกระทบต่อประเทศไทย

การเข้าร่วมของสวิสเซอร์แลนด์ในความตกลง ‘Schengen’ เพื่อใช้การตรวจลงตราเดียว One Visa
แม้สองฝ่ายได้ตกลงกันโดยหลักการในความตกลงปี 2004 แต่ในทางปฏิบัติแล้วนาย Trautmann เน้นว่าโอกาสที่สวิตเซอร์แลนด์จะเริ่มใช้ความตกลง Schengen เพื่อให้มีการตรวจลงตราเดียวกันกับประเทศในกลุ่ม Schengen อื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางผ่านพรมแดนนั้นอาจเป็นหลังปี 2007 (เป็นอย่างเร็วที่สุด หรืออาจเป็นปี 2009) ทั้งนี้ หลักการคือการให้ประเทศสมาชิกใหม่ของสหภาพุโรปเริ่มใช้ให้ได้ทั้งหมดก่อนสวิตเซอร์แลนด์จึงจะเข้าร่วม โดยปัญหา/ข้อจำกัดของปฏิบัติดังกล่าวได้แก่ข้อจำกัดของระบบเก็บข้อมูล Schengen Information System ที่ยังไม่รองรับจำนวนสมาชิกที่มากขึ้นของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน นักท่องเที่ยว(ไทย)ที่เดินทางมายังสหภาพยุโรปและมีวีซ่า Schengen multiple entries ที่ยังไม่หมดอายุสามารถผ่านเข้าสวิตเซอร์แลนด์และพำนักอยู่ได้เป็นเวลา 90 วัน โดยไม่ต้องมีวีซ่าสวิส
ความตกลงด้านการเปิดเสรีสินค้าเกษตรแปรรูป Processed Agricultural Products ปี 2004
นับเป็นความตกลงที่ส่งผลให้สินค้าเกษตรแปรรูปของผู้ผลิตยุโรป (ที่ผลิตในสหภาพยุโรปเท่านั้น)สามารถผ่านเข้า / ออกระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และสหภาพยุโรปได้ในอัตราภาษี 0% ทั้งนี้ เบื้องหลังของความตกลงดังกล่าวได้แก่ความพยายามของสองฝ่ายในการปฎิรูปการเกษตรในสวิตเซอร์แลนด์ให้เปิดเสรีและมีการแข่งขันระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ ตลาดทางด้านการเกษตรของสวิตเซอร์แลนด์ยังนับว่ายังเป็นระบบปิดอยู่มาก
ความตกลงในสาขาดังกล่าวนับได้ว่าส่งสัญญาณอันดี และประเทศไทยอาจมีโอกาสในตลาดสวิตฯมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากการยกเลิกกฎเกณฑ์เรื่อง Rules of Origin แล้ว เมื่อประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปให้สัตยาบันความตกลงเกี่ยวกับ Conformity Assessment ข้างต้น ซึ่งตลาดสวิสจะมีความเป็นหนึ่งเดียวกับตลาดสหภาพยุโรปมากขึ้น โดยประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นหลักที่ไทยน่าจับตาสำหรับสินค้าเกษตรแปรรูปในอนาคต
Single European Sky
สวิตเซอร์แลนด์เป็นสมาชิกของ Eurocontrol โดยที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป และ Eurocontrol และคณะกรรมธิการยุโรปเป็นหน่วยงานที่ผลักดันการมีน่านฟ้าเดียวในสหภาพยุโรปหรือ Single European Sky เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องเส้นทางการบิน สายการบินไทยอาจได้ประโยชน์จากการเปิดเส้นทางการบินใหม่ ๆ ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์และประเทศสหภาพยุโรปอื่น ๆ เมื่อความตกลงเรื่องการมีน่านฟ้าเดียวของสหภาพยุโรปเริ่มใช้ ซึ่งรวมสวิตเซอร์แลนด์อยู่ด้วย
พลังงาน
สวิตเซอร์แลนด์มีความสามารถในการใช้พลังงานน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยสวิตเซอร์แลนด์มีนโยบายในการซื้อพลังงานนิวเคลียร์ที่ราคาถูกกว่าจากฝรั่งเศส สำหรับการใช้ภายในประเทศ แต่ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำจำหน่ายประเทศสหภาพยุโรปอื่น
โครงการกาลิเลโอ
โครงการกาลิเลโอ เป็นโครงการสำคัญของสหภาพยุโรป ในการใช้ระบบดาวเทียมในการบอกพิกัดตำแหน่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ GPS หรือ Global Positioning System (GPS) ของสหรัฐอเมริกา และ GLONASS ของรัสเซีย โครงการกาลิเลโอเป็นความร่วมมือระหว่าง European Space Centre และคณะกรรมาธิการยุโรป โดยแม้จะไม่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นสมาชิกของ European Space Centre ก็สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าวได้ นอกจากนั้น นาย Trautmann แสดงความคิดเห็นว่า ด้วยอำนาจการต่อรองดังกล่าวสวิตเซอร์แลนด์สามารถได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากประเทศสหภาพยุโรปอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสหภาพ อีกทั้ง ยังมีเสรีภาพพอในการถ่ายทอด/จำหน่ายเทคโนโลยีเหล่านั้นให้แก่ประเทศที่สามได้ อาทิเช่น การนำเทคโนโลยีบางอย่างไปขายให้จีน ตัดหน้าสหภาพยุโรป ซึ่งทำให้สมาชิกสหภาพยุโรป ไม่พอใจเป็นอย่างมาก

ทิศทางของความสัมพันธ์ในอนาคต

แม้ในอดีตในช่วงปี ค.ศ.1960-1990 อาจกล่าวได้ว่าสวิตเซอร์แลนด์ซึ่งเคยมีเศรษฐกิจที่ดีมากที่สุดประเทศหนึ่งได้สูญเสีย Dynamism ในด้านเศรษฐกิจไปพอสมควร โดยไม่สามารถไล่ตามเศรษฐกิจโดยรวมของยุโรปหลังการรวมตัวเป็นสหภาพยุโรปได้ทัน ที่ผ่านมาภาคธุรกิจจึงเป็นกลุ่มผลประโยชน์หลักที่มักผลักดันให้รัฐบาลสวิสหันหน้าเข้าหาสหภาพยุโรปให้มากขึ้นและสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอีกครั้ง โดยเน้นว่าการที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอย่างเต็มตัวจะเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจพัฒนายิ่งขึ้น (โดยดูจากรณีตัวอย่างของออสเตรียซึ่งมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจแบบกึ่งปิดคล้ายคลึงกับสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเศรษฐกิจพัฒนาขึ้นไปในทิศทางที่ดี) อย่างไรก็ดี รัฐบาลสวิสเองยังคงสงวนท่าทีเดิมและมีแนวโน้มรับฟังมติประชาชนสวิสอยู่ในขณะนี้
อีกทั้ง ความตกลงในสาขาสำคัญต่างๆในปี 2004 ได้ช่วยแก้ไขปัญหาสำหรับภาคธุรกิจสวิสได้เกือบทุกด้านแล้ว ดังนั้น นาย Trautmann คาดการณ์ว่า ด้วยเหตุผลจากฝ่ายการเมืองสวิตเซอร์แลนด์คงจะไม่พิจารณาการสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปอีกเป็นแน่ ทั้งนี้ หากพิจารณาอำนาจที่ต่อรองที่เหนือกว่าและฐานะที่เท่าเทียมของสวิตเซอร์แลนด์ในเวทีระหว่างประเทศและในองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ข้างต้น สวิตเซอร์แลนด์คงจะดำเนินนโยบายแบบคงตัว คือคงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและใกล้ชิดกับสหภาพยุโรป โดยการใช้ความตกลงทวิภาคีในสาขาต่าง ๆ เป็นการสร้างการ บูรณาการให้เข้าใกล้สหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น แต่เฉพาะทางอ้อมเท่านั้น แต่ทั้งนี้ สวิตเซอร์แลนด์ ดูเหมือนจะมีอำนาจต่อรองเหนือสหภาพยุโรป และคาดว่าจะเช่นนี้ต่อไปสำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ในอนาคต
ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับความสัมพันธ์สวิตเซอร์แลนด์-สหภาพยุโรป

ข้อควรระวังแก่ผู้ที่จะประสงค์เดินทางมาหรือพำนักในสวิตเซอร์แลนด์

ข้อควรระวังแก่ผู้ที่จะประสงค์เดินทางมาหรือพำนักในสวิตเซอร์แลนด์



สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอแจ้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ข้อควรระวังแก่ผู้ที่จะประสงค์เดินทางมาหรือพำนักในสวิตเซอร์แลนด์ ดังนี้
เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2007 สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับแจ้งจากนางสาวสุภาภัค พฤทธิเทพ ผู้แทนจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ซึ่งเดินทางมาร่วมการประชุมนานาชาติ ITUT ณ นครเจนีวา ระหว่างวันที่ 14 - 26 มกราคม 2007 ว่าเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2007ตนถูกกลุ่มพวกมิจฉาชีพหลอกลวงบนสะพานมองบลองค์ ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ใกล้ทะเลสาบเจนีวา โดยได้ปรากฏการจัดฉากในรูปตำรวจสวิสขอตรวจค้นหนังสือเดินทาง กระเป๋าเก็บเงิน / กระเป๋าถือ / สิ่งของ ของนักท่องเที่ยว โดยที่นางสาวสุภาภัคฯ ได้เฉลียวใจไม่หลงกลพวกมิจฉาชีพ ทั้งที่ได้มีการแสดงบัตรตำรวจ (ปลอม) ให้ดูเพื่อขอตรวจค้น
ในวันที่ 23 มกราคม 2007 สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงได้พานางสาวสุภาภัคฯ ไปแจ้งความกับสถานีตำรวจท้องที่นครเจนีวา โดยได้ให้ข้อมูลพร้อมภาพถ่ายของกลุ่มพวกมิจฉาชีพที่ได้ถูกบันทึกภาพไว้ได้ โดยในโอกาสเดียวกันนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้แสดงท่าทีความกังวลว่าหากกลุ่มพวกมิจฉาชีพใช้การแอบอ้างเป็นตำรวจสวิสและดำเนินการหลอกลวงนักท่องเที่ยวอย่างเช่นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในปัจจุบัน อาจส่งผลให้คนต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวหรือพำนักในสวิตเซอร์แลนด์ปฏิเสธการให้ความร่วมมือกับทางตำรวจสวิสได้ เนื่องจากไม่แน่ใจว่าเป็นตำรวจจริงหรือพฤติกรรมล่อลวงของกลุ่มมิจฉาชีพ ซึ่งทางตำรวจสวิสรับทราบถึงข้อกังวลของสถานเอกอัครราชทูตฯ แล้วขอขอบคุณที่ได้รับความร่วมมืออย่างดีในการให้หลักฐานเพื่อนำไปต่อการสืบจับกลุ่มมิจฉาชีพต่อไป นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้สอบถามถึงมาตรการปฏิบัติในการแสดงตัวขอตรวจสอบหนังสือเดินทาง / เงิน / ทรัพย์สิน ซึ่งตำรวจสวิส แจ้งว่าตามกฎหมายสวิสได้ให้อำนาจตำรวจสามารถตรวจสอบหนังสือเดินทางหรือทรัพย์สินตามท้องถนนได้ แต่จะมีการแสดงตัวและตราตำรวจพร้อมบัตรประจำตัวอย่างชัดเจน โดยการเรียกตรวจสอบตามท้องถนนจะไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่มักจะได้รับข้อมูลภายในเป็นการล่วงหน้าก่อนในมูลเหตุของการเรียกตรวจสอบด้วย
โดยที่รูปแบบการหลอกลวงของกลุ่มมิจฉาชีพในคราบของตำรวจปลอม ได้เคยเกิดเหตุการณ์ในแบบเดียวกันขึ้นกับทหารไทยยศสูงระดับสัญญาบัตรท่านหนึ่งที่เดินทางมาประชุมในกรอบสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา เมื่อปี 2005 ด้วย ทั้งนี้ เหตุการณ์การลักขโมย / โจรกรรมนักท่องเที่ยวในทุกรูปแบบในสวิตเซอร์แลนด์มีอัตราสูงขึ้นมากในปัจจุบัน โดยมีการมุ่งเป้าในการโจรกรรมนักท่องเที่ยวชาวเอเชียเป็นหลัก โดยรูปแบบการปฏิบัติการของกลุ่มมิจฉาชีพมักจัดฉาก สร้างความแนบเนียนและทำงานกันเป็นทีม หรือลักขโมยในระหว่างที่นักท่องเที่ยวไม่ระวังตัว มักไม่ปรากฏกรณีการทำร้ายร่างกายนักท่องเที่ยว แต่จะประสงค์ในทรัพย์สินอย่างเดียว กลุ่มที่เป็นมิจฉาชีพมักเป็นชาวยุโรปตะวันออกเป็นหลัก โดยมีการแต่งกายภูมิฐานน่าเชื่อถือ ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยมักมีพฤติกรรมประมาทในขณะที่ท่องเที่ยวในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มากกว่าที่ระวังตัวในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศยุโรปอื่น ด้วยความคิดที่ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าที่อื่น จึงมักไม่ระวังตัวเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนเอง
ในการนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จึงขอประชาสัมพันธ์ข้อควรระวังให้แก่คนไทยในการเดินทางมาสวิตเซอร์แลนด์ ดังนี้

ข้อควรระวังในการเดินทางมาสวิตเซอร์แลนด์

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงเรื่องความงดงามของทิวทัศน์ ภูเขาและทุ่งหญ้า เปรียบเสมือนสวรรค์บนดิน มีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูง ธุรกิจธนาคาร / นาฬิกา / ผลิตภัณฑ์นมและเนย / สถานที่ท่องเที่ยว / ที่พักตากอากาศ / และนโยบายเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่มีชื่อเสียง ชาวสวิสทั่วไปมีนิสัยรักความสงบ ความสะอาด เรียบร้อย เป็นระเบียบ และรักคนไทย เนื่องจากชาวสวิสจำนวนมากได้เคยเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศไทย แต่เหมือนกับธรรมชาติทุกอย่างในโลกคือต้องมีทั้งด้านดีและด้านเสีย ซึ่งสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น ขอประชาสัมพันธ์ข้อควรระวังหลักในการเดินทางมาสวิตเซอร์แลนด์ ดังนี้

การเดินทางเข้ามาแต่งงานหรือหาคู่ครองชาวสวิส

- กรณีหญิง/ชายไทยที่ประสงค์จะแต่งงานกับชาวสวิส ขอให้มีความรัก ศึกษานิสัยใจคอ และวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมให้ดีเสียก่อน เนื่องจากเมื่อสมรสกับชาวสวิสแล้ว จำเป็นต้องใช้เวลาถึง 5 ปี (คู่สมรสสวิสต้องรับรองวีซ่าทุกปี) ถึงจะได้สิทธิพำนักถาวรในสวิตเซอร์แลนด์
- การสมรสแบบรับจ้างแต่งงานกับชาวสวิสเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และมักเป็นเหตุให้เกิดการถูกกดขี่ข่มเหงและค้าประเวณี โดยชาวสวิสที่มีพฤติกรรมรับจ้างแต่งงานกับชาวต่างชาติมักเป็นพวกที่ไม่มีการศึกษา ตกงานยาวนาน ติดยาเสพติด สุราเรื้อรัง มีหนี้สินล้นพ้นตัว มีโรคภัยประจำตัว มีปัญหาทางสุขภาพจิต ดังนั้น จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการจ้างสมรสโดยเด็ดขาด

การท่องเที่ยวในสวิตเซอร์แลนด์

- สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีอากาศหนาวจัดบนพื้นที่ภูเขาและที่สูงในฤดูหนาว การแต่งกายควรให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงควรเตรียมเสื้อกันหนาวไปด้วยแม้จะไม่ใช่ฤดูหนาว และตรวจดูสภาพความพร้อมของร่างกายหากจำเป็นต้องขึ้นภูเขาที่สูงมาก (3,000 เมตรหรือสูงกว่า) เนื่องจากอากาศบนเขาสูงอาจมีปริมาณออกซิเจนต่ำ อาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ โดยที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวไทยที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงเส้นเลือดในสมองแตก จากการขึ้นเขาสูงในขณะที่ร่างกายไม่พร้อม และการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่สวิตเซอร์แลนด์ในค่าใช้จ่ายสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

การระวังตัวเพื่อป้องกันการเป็นเป้าหมายกลุ่มมิจฉาชีพ

- เหตุการณ์การลักขโมย / โจรกรรมนักท่องเที่ยวในทุกรูปแบบในสวิตเซอร์แลนด์มีอัตราสูงขึ้นมากในปัจจุบัน โดยมีการมุ่งเป้าในการโจรกรรมนักท่องเที่ยวชาวเอเชียเป็นหลัก โดยรูปแบบการปฏิบัติการของกลุ่มมิจฉาชีพในสวิตเซอร์แลนด์มัก เกิดขึ้นตามสถานที่ท่องเที่ยวหลักทั่วไป โดยจะมีการจัดฉาก สร้างความแนบเนียนและทำงานกันเป็นทีม หรือลักขโมยในระหว่างที่นักท่องเที่ยวไม่ระวังตัว แต่มักไม่ปรากฏกรณีการทำร้ายร่างกายนักท่องเที่ยว แต่จะมุ่งประสงค์ในทรัพย์สินอย่างเดียว กลุ่มที่เป็นมิจฉาชีพมักเป็นชาวยุโรปตะวันออกเป็นหลัก โดยมีการแต่งกายภูมิฐานและสร้างมูลเหตุที่น่าเชื่อถือในการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยมักมีพฤติกรรมประมาทในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มากกว่าที่ระวังตัวในการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศยุโรปอื่น ด้วยความคิดที่ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าที่อื่น จึงมักไม่ระวังตัวเพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนเอง











ประเทศยุโรป

                                            ประเทศยุโรป

ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

  • ออสเตรีย

  • บัลกาเรีย

  • เบลเยียม

  • ไซปรัส

  • เดนมาร์ก

  • เอสโตเนีย

  • ฟินแลนด์

  • ฝรั่งเศส


  • เยอรมนี

  • กรีซ

  • สเปน

  • ฮังการี

  • ไอร์แลนด์

  • ลัตเวีย


  • ลิทัวเนีย

  • ลักเซมเบิร์ก

  • เนเธอร์แลนด์

  • โปแลนด์

  • โปรตุเกส

  • โรมาเนีย

  • สโลวาเกีย


  • มอลตา

  • สโลวีเนีย

  • สวีเดน

  • สาธารณรัฐเช็ก

  • สหราชอาณาจักร

  • อิตาลี


  • ประเทศที่กำลังสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ประเทศยุโรปอื่นๆ

  • ตุรกี

  • โครเอเชีย

  • มาซิโดเนีย (FYROM)


  • นอร์เวย์

  • รัสเซีย

  • สวิตเซอร์แลนด์

  • วาติกัน
















  • หน่วยงานราชการไทยในยุโรป

                 หน่วยงานราชการไทยในยุโรป

    ลิ๊งค์ไปยังเวบไซต์ของหน่วยงานราชการไทยที่ตั้งอยู่ในสหภาพยุโรป
    เบลเยียม สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์
    Royal Thai Embassy/Mission of Thailand to the European Communities Square du Val de la Cambre 2, 1050 Brussels Tel. (32-2) 640-6810 Fax. (32-2) 648-3066 E-mail : thaibx@thaiembassy.be
    2399
    เบลเยียม สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
    188 Avenue Franklin Roosevelt Brussels, 1050 Belgium Tel:(+322) 6747310 Fax: (+322) 6734425 E-Mail : thaibe@coditel.net
    1261
    ออสเตรีย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา
    Cottaggasse 48, A-1180 Vienna Tel. (43-1) 478-3335 Fax. (43-1) 478-2907,479-0588 E-mail : thai.vn@embthai.telecom
    1150
    เบลเยี่ยม สำนักงานที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ กรุงบรัสเซลส์
    412 Boulevard du Souverain 1150 Brussels, Belgium Phone: (32) 2 - 675 - 0797 Fax: (32) 2 - 662 - 0858 Email: info@thaiscience.eu
    1518
    ฝรั่งเศส สำนักงาน ททท.
    90, avenue des Champs-Elys้es, 75008 PARIS T้l : 01 53 53 47 00 - Fax : 01 45 63 78 88 - Courriel : tatpar@wanadoo.fr
    776
    ฝรั่งเศส สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส
    8, Rue Greuze 75116 Paris Tel. (33-1) 5626-5050 Fax. (33-1) 5626-0445, 5626-0446 E-mail : thaipar@mfa.go
    1495
    สาธารณรัฐเชค สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปราก
    Romaina Rollanda 3/481 160 00 Prague 6 - Bubence Tel. (420-2) 2057-1435, 2057-0055 Fax. (420-2) 2057-0049 E-mail : thaiemb@volny.cz
    851
    เดนมาร์ก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนฮาเกน
    Norgesmindevej 18 2900 Hellerup, Copenhagen Tel. (45) 39 62 50 10 , 39 62 52 57 39 62 55 75(Consular Section) Fax. (45) 39 62 50 59 E-mail : thai-dk@inet.uni2
    874
    เยอรมนี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
    Lepsiusstrasse 64/66 12163 Berlin Tel. (49-30) 794-810 Fax. (49-30) 7948-1511 E-mail : thaiber@snafu.de
    1018
    ฟินแลนด์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ
    Eerikinkatu 2, 00100 Helsinki Tel. 09 603 585 Fax. 09 603 412
    851
    เยอรมนี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน (ฝ่ายเศรษฐกิจและการค้า) 1390
    เยอรมนี สถานกงศุลใหญ่ ณ นครแฟรงค์เฟิร์ต
    Kennedyallee 109, 60596 Frankfurt am Main GERMANY Tel. (49) (69) 69 86 82 05 Fax. (49) (69) 69 86 82 28 E-mail : thaifra@mfa.go.th
    1013
    กรีซ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเอเธนส์
    25 Marathonodromou Str. Paleo Psychico 15452 Athens Tel. (30) 210 671-0155, 674-9065 Fax. (30) 210 674-9508 E-mail : thaiath@otenet.grs
    772
    ฮังการี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสท์
    Verecke ut. 79 1025 Budapest Tel. (36-1) 438-4020 to 1, 438-4028, 438-4025, 438-4029 Fax. (36-1) 438-4023 E-mail: thaiemba@mail.datanet
    767
    อิตาลี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโรม
    Via Nomentana132, 00162 Rome Tel. +39(06)8622-051 Fax. +39(06)8622-0555, 8622-0556 E-mail : thai.em.rome@wind.it
    1246
    เนเธอร์แลนด์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก
    Royal Thai Embassy Laan Copes van Cattenburch 123, 2585 EZ,The Hague
    1295
    นอร์เวย์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล
    Eilert Sundts Gate 4 0244 Oslo Tel. (47) 212-8660-70 Fax. (47) 204-9969 E-mail : thaioslo@online.no
    743
    โปแลนด์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอว์
    Ul. Willowa 7 00-790 Warsaw Tel. (48-22) 849-2655, 849-6414, 849-1406 (48-22) 849-4730 (Ambassador) Fax. (48-22) 849-2630, 646-6230 E-mail : thaiemb@thaiemb.internetdsl thaiemb@ambasada.tajlandia
    796
    โปรตุเกส สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิสบอน
    Rua de Alcolena, 12, Restelo 1400-005 Lisbon Tel. (351-21) 301-4848, 301-5051, 301-5151 Fax. (351-21) 301-8181, 301-1476
    1420
    โรมาเนีย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูคาเรสต์
    12, Vasile Conta Street Sector 2, Bucharest Tel. (40- 1) 311-0031,311-0078,311-0067 Fax. (40 -1) 311-0044 Website: www.thaiembassy.ro E-mail : thaibuh@speedmail.ro, arawan.2525@hotmail.com
    680
    รัสเซีย สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก
    No. 9 Bolshaya Spasskaya Street Moscow 129090 Tel. (7495) 208-0856, 208-0817, 208-6671 Fax. (7495) 207-5343, 207-9659 E-mail : thaiemb@nnt.ru
    912
    สเปน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด
    Calle Joaquin Costa, 29 28002 Madrid Tel. (34-91) 563-2903, 563-7959 Fax. (34-91) 564-0033, 562-4182 E-mail : madthai@wanadoo.es, madthai@temb.e
    862
    สเปน Thai Trade Center, Madrid
    Address : Thai Trade Center Embajada Real de Tailandia Segre, 29/2A, 28002 Madrid, SPAIN Tel : + 34-91-563 0190, 563 0196 Fax : + 34-91-563 8090 IP Phone: 3411 E-mail : thaicom@codeinf.com
    585
    สวีเดน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม
    Floragatan 3, Box. 26220 10040 Stockhlom Tel. (46-8) 791-7340 Fax. (46-8) 791-7351 E-mail : info@thaiembassy.se
    1116
    สวิตเซอร์แลนด์ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น
    Kirchstrasse 56, 3097 Liebefeld-Berne Tel: (41-31) 970-3030-34, 9703038-39 Fax: (41-31) 970-3035 E-mail: thai.bern@bluewin.ch
    1164
    สหราชอาณาจักร สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน
    29-30 Queen's Gate London, SW7 5JB Tel. (44-20) 7589-2944 Fax. (44-20) 7823-9695 E-mail : thaiduto@btinternet.com
    1202
    สหราชอาณาจักร สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงลอนดอน
    Office of Commercial Affairs Royal Thai Embassy 11 Hertford Street Mayfair London W1J 7RN Tel: 020-74935749 Fax: 020-74937416 E-Mail: thaicomuk@dial.pipex.com
    1090
    สหราชอาณาจักร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ กรุงลอนดอน
    3rd floor, Brook House 98-99 Jermyn Street London WC1Y 2EE

    ที่มา : http://news.thaieurope.net/

    วิชาการและการศึกษา

                    วิชาการและการศึกษา



    เว็บไซต์ของสถานบันวิจัย มหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษา Think Tank เกี่ยวกับยุโรป สหภาพยุโรป และยุโรปศึกษา




    European University Institute, Italy 381
    College of Europe, Belgium 434
    Asia-Europe Foundation (ASEF) 352
    European Institute for Asian Studies 368
    Master of Arts in European Studies Programme, Chulalongkorn University, Bangkok
    MA in European Studies is a full-time, one year degree programme taught in English. It is designed for international graduates with an interest in the emerging links and relationship between European and Asian countries.
    419
    European Commission Libraries Catalogue 377
    European Documentation Centre in Thailand
    European Documentation Centre in Thailand (at Chulalongkorn University)
    504
    Centre for European Studies, Chulalongkorn University, Bangkok
    The Centre aims to provide an academic excellence in European Studies in Thailand and the ASEAN region.
    383
    European Policy Centre 371
    ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย
    ไทยและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในมิติต่างๆ
    574




    ที่มา : http://news.thaieurope.net/


    ชุมชนคนไทยในยุโรป

               ชุมชนคนไทยในยุโรป




    Thai Women for Thai Women (Switzerland) 2313
    สมาคมเพื่อนไทยแห่งประเทศลักเซมเบิร์ก
    สมาคมเพื่อนไทยแห่งประเทศลักเซมเบิร์ก (Les Amis de la Thailande, Luxembourg)ผู้ก่อตั้ง: สงวนศรี แสงฉาย โทร: +352.513.403มือถือ: +352.621.215318
    16395
    เวบสำหรับคนไทยในไอซ์แลนด์
    ท่านที่ต้องการทราบข้อมูลของประเทศไอซ์แลนด์ และ ข่าวคราวเกี่ยวกับชาวไทยในไอซ์แลนด์เชิญเปิดชมได้ที่เวบนี้
    2130
    เวบสำหรับคนไทยในฟินแลนด์
    มีจุดประสงค์เพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทยและชาวฟินน์ หรือผู้ที่หลงใหลในเมืองไทยให้ได้ศึกษารู้จักวัฒธรรมไทย และฟินน์
    828
    เวบสำหรับคนไทยในเนเธอร์แลนด์ 853
    ฟอรั่มสำหรับคนไทยในรัสเซียและ CIS 572
    เวบชุมชนคนไทยในไอร์แลนด์ 742

    ชุมชนคนไทยในเยอรมนี (ภาษาเยอรมัน) 672
    ชุมชนคนไทยในเยอรมนี (ภาษาไทย)
    เสนอข่าวคราวเพื่อชาวไทยในเยอรมนีและยุโรป
    1982
    วัดพุทธแอนท์เวิร์ป เบลเยียม 729
    วัดศรีนครินทรวราราม ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์
    เป็นวัดเฉลิมพระเกียรติในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี(สมเด็จย่าฯ)
    508








    ที่มา : http://news.thaieurope.net/